วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

มะเขือเปราะน่ารู้

มะเขือเปราะน่ารู้


ในบ้านเรามีพืชผักสมุนไพรหลายอย่างที่ช่วยชูรสอาหาร อีกทั้งยังให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากอีกด้วย อย่าง "มะเขือเปราะ" ก็เป็นมะเขืออีกชนิดหนึ่งที่เรานิยมนำมาประกอบในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน แกงป่า หรือบางคนก็นิยมกินสดๆ จิ้มน้ำพริก หรือใส่ในยำต่างๆ ก็ได้รสอร่อยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่สมควรปล่อยให้มะเขือเปราะต้องวางทิ้งอยู่ข้างจานอีกต่อไป สำหรับประโยชน์มะเขือเปราะนั้นก็มีมากทีเดียว โดยในอินเดียนั้นจะนำมะเขือเปราะมาทำเป็นยา โดยผลมะเขือเปราะนั้นจะช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ ช่วยย่อยอาหารและช่วยในการขับถ่าย อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด และยังลดปริมาณน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย โดยสารสกัดจากมะเขือเปราะนั้นจะออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 2 วิตามินซีอีก





มะเขือเปราะ ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพืชผักที่มีอายุยืน สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

  1. พันธุ์ ตามท้องตลาดที่นิยมปลูกสามารถแยกได้ คือ หากเป็นพันธุ์เดิมๆ เป็นเจ้าพระยาจะใช้แกงป่าจะดีมาก หากเป็นลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ เช่น พันธุ์น้ำหยด หรือหยาดทิพย์ ของตราศรแดง จะกินดิบ และแกงเขียวหวานอร่อยมากเพราะมีเนื้อมากเปลือกหนา ผลใหญ่ สามารถขนส่งได้ไกลๆ
  2. เพาะ กล้า เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพราะกล้า ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม. นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด
    กลบดินผิวหน้าเมล็ดมะเขือเปราะแล้วรดน้ำ และควรป้องกันมดมาคาบเมล็ดไปากถาดพลาสติกเพาะกล้า โดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นล้อมถาดเพาะไว้ หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถาง หรือในแปลงปลูก
  3. การปลูก
    ถ้าปลูกมะเขือเปราะในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง
    ในกรณีปลูกมะเขือเปราะในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1 การเตรียมดิน ไถดินตาก ประมาณ 7 วัน แล้วชักร่องเพื่อปล่อยน้ำ และปลูกตามร่อง จะสะดวกในการให้น้ำและให้ผลผลิตดีกว่าปลูกแบบธรรมดา
  4. การดูแรักษา มะเขือเปราะ ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1 ส่วน 4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 ซม. และรดน้ำทันที ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1 ส่วน 4 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้ หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะ เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่ง และบำรุงต้นมะเขือเปราะ เช่นนี้ ทุกๆ 2-3 เดือน
  5. การให้น้ำ ปล่อยน้ำไปตามร่อง อย่าให้น้ำขังร่อง จะทำให้มะเขือเปราะตายได้ ควรดูอย่าให้ดินแห้ง และปล่อยอยู่เสมอ
  6. การใส่ปุ๋ย เมื่อปลูกลงดินแล้วต้นกล้าตั้งต้นดี อายุประมาณ 20 วัน ก็ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 10 กรัมต่อหลุม และใส่อีกเมื่ออายุ 35-40 วัน และพิจารณาใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เมื่อมะเขือเปราะเริ่มออกดอก และติดผลการพิจราณาใส่ปุ๋ย ควรใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
  7. โรค โรคใบจุด โรคผลเน่า โรคใบไหม้ ควรพ่นสารแมนโคเซป และไอโพรไดโอน
  8. แมลงศัตรู ที่พบเพลี้ยจั๊กจั่น แมงวี่ขาว หนอนเจาะยอดและผล เพลี้ยไฟ ไรแดง ควรพ่นด้วย อะมาแม็คติน หรืออิมิดาโดลพริด เดลทาเมทริน หรือเมตาไซฟลูทริน และอามีทราซ